ประเภทองค์กร:
องค์กรพัฒนาเอกชน
ชื่อองค์กรภาษาไทย:
สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ()
วันที่เริ่มเป็นสมาชิก:
2016-02-10
ที่อยู่:
เลขที่ ๖ สุขุมวิท ๑๒
หมายเหตุ:
๑. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนต่างๆ สามารถรับความรู้และบริการวางแผนครอบครัวได้ โดยสะดวก ประหยัดและรวดเร็วในลักษณะชุมชนช่วยชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านการวางแผนครอบครัวของประเทศให้บรรลุเป้าหมาย ในอันที่จะลดอัตราการเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็ว
๒. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนต่างๆ เกิดความคิดริเริ่มที่จะเข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตน
๓. เพื่อเสริมงานในด้านการพัฒนาต่างๆ แก่ทางราชการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับฐานะการครองชีพ การสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้น
๔. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทัศนคติในด้านประชากรศึกษา การวางแผนครอบครัว และการพัฒนาชุมชนกับประเทศต่างๆ
ข้อตกลงความร่วมมือ (MOU):
ผลงานที่ผ่านมา:
๑. โครงการพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย (Integrated Democracy and Rural Development Project : IDR) ปี ๒๕๔๗ – ๒๕๔๙ : โครงการพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย มีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กลุ่มธุรกิจร้านค้าในชุมชน ครูและนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้นำสตรี ประชาชน และเยาวชน โดยการจัดตั้งเป็น อบต.เยาวชน (Youth Tambon Administrator Organization : TAO) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ชนบท โดยมีพื้นที่กลุ่มเป้าหมายในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายหลังการดำเนินโครงการทำให้มีการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนอย่างกว้างขวาง สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตย อีกทั้งเป็นการสร้างโอกาสให้เยาวชนในชนบท และใช้ศักยภาพของกลุ่ม อบต.เยาวชน ในการบริหารจัดการ การประสานงาน การพัฒนาการทำงานเป็นทีม ธรรมาภิบาล และการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสถานการณ์ของชุมชนอื่นๆ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการมี ๑๕๓ หมู่บ้าน ใน ๖ จังหวัด ได้รับการพัฒนาประชาธิปไตย
๒. โครงการการมีส่วนร่วมพัฒนาประชาธิปไตย (Democracy Development Partnership Project: DDP) ปี ๒๕๕๐ – ๒๕๕๒ : โครงการการมีส่วนร่วมพัฒนาประชาธิปไตย ดำเนินการใน ๓ พื้นที่ คือ เชียงราย บุรีรัมย์ และกระบี่ เป็นโครงการเพื่อพัฒนาเยาวชนกลุ่มการเมือง และกลุ่มสตรีผู้นำในพื้นที่รากหญ้า เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ และเข้าสู่การเมืองในท้องถิ่น และเป็นภาคประชาสังคมได้ การดำเนินโครงการเป็นการยกระดับประชาธิปไตย และสร้างความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยในพื้นที่ชนบท เมื่อเสร็จสิ้นโครงการมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการจำนวน ๒๔ คน จากผู้นำเยาวชนใน ๘ หมู่บ้าน เพื่อพัฒนาพันธกิจเฉพาะในแต่ละท้องที่ ดังนี้
๒.๑) กิจกรรมสนับสนุนและเสริมสร้างประชาธิปไตยในเครือข่ายเยาวชนท้องถิ่น
๒.๒) กิจกรรมพัฒนาทักษะและศักยภาพของเยาวชน
๒.๓) กิจกรรมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพสตรี แกนนำหมู่บ้าน และผู้สูงอายุ
๒.๔) กิจกรรมการส่งเสริมศัพยภาพเยาวชนในจังหวัดกระบี่และพังงา
๓. โครงการการเพิ่มความสามารถของชุมชน (Civil Society Capacity Building Project : CSC) ปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๕ : โครงการการเพิ่มความสามารถของชุมชน มีวัตถุประสงค์เสริมสร้างศัพยภาพของสตรีและเยาวชน ให้เข้าไปมีส่วนในการเมืองภาคพลเมือง สนับสนุนสถาบันประชาธิปไตยในชุมชน และจัดตั้งกองทุนพัฒนาตำบล การพัฒนาให้สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนให้เป็นศูนย์กลางสำหรับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะวิทยากรกระบวนการ
๔. โครงการพัฒนาประชาธิปไตยและสิ่งแวดล้อม (Democracy and Environmental Community Development Project) ปี ๒๕๕๖ – ๒๕๕๘ : โครงการพัฒนาประชาธิปไตยและสิ่งแวดล้อม มีการดำเนินงานใน ๕ พื้นที่ ๔ จังหวัดในภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตย สังคม และสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่เป้าหมาย โดยดำเนินการกับกลุ่มสตรี เยาวชน แกนนำท้องถิ่น โดยการการเข้าไปมีส่วนร่วมในสถาบันท้องท้องถิ่น และสถาบันการเมืองในท้องที่ สร้างความตระหนักและให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแนวทางประชาธิปไตยในการแก้ไขปัญหา และการฝึกอบรมและการกระจายความรู้ แก่เจ้าหน้าที่ ผู้มีส่วนได้เสีย และวิทยากรแกนนำในพื้นที่