ข้อมูลทั่วไป

ประเภทองค์กร:
องค์กรพัฒนาเอกชน
ชื่อองค์กรภาษาไทย:
สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ()
ชื่อองค์กรภาษาอังกฤษ:
()
โทรศัพท์ 1:
022810951
โทรศัพท์ 2:
โทรสาร:
อีเมล์:
เว็บไซต์:
วันก่อตั้งองค์กร:
วันที่เริ่มเป็นสมาชิก:
2016-06-30
ที่อยู่:
๕๑๔ บ้านมนังคศิลา ถนนหลานหลวง
อำเภอ:
ดุสิต
จังหวัด:
กรุงเทพฯ
หมายเหตุ:
๑. เป็นศูนย์กลางในการประสานงานส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรสตรีทั่วประเทศ ๒. เชิดชู ส่งเสริม สนับสนุน และธำรงวันสตรีไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมให้สืบทอดต่อไป ๓. ศึกษาหาความรู้ และแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างองค์กรสตรี ทั้งในและนานาประเทศ ในอันที่จะเสริมสร้างความมั่นคง สวัสดิภาพ ความเป็นอยู่ และความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกันของมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งของสตรี ๔. หาแนวทาง และปฏิบัติงานที่จะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ สถานภาพและสมรรถภาพของสตรีไทย ตลอดจนแสวงหาแนวทางที่จะขจัดหรือแก้ไขปัญหา อันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสตรี หรือองค์กรสตรีนั้นๆ ๕. ร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศในการดำเนินงานที่จะเป็นประโยชน์ต่อสตรีและสังคม การปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ สภาสตรีแห่งชาติฯ จะไม่ก้าวล่วงเข้าไปในการดำเนินงานขององค์กรสตรีที่เป็นสมาชิก
ข้อตกลงความร่วมมือ (MOU):
ผลงานที่ผ่านมา:
สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้จัดส่งรายงานการปฏิบัติงานตลอดวาระ คณะกรรมการสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๘) โดยมีการรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นฝ่าย ดังนี้ ๑. ฝ่ายวิชาการ มีบทบาทหน้าที่เผยแพร่งานวิชาการตามนโยบาย และวัตถุประสงค์ของสภาสตรีแห่งชาติฯ โดยมีการจัดสัมมนาให้ความรู้ในหัวข้อเรื่องต่างๆ ที่จะเกิดประโยชน์แก่คณะกรรมการ องค์กรสมาชิก และบุคคลทั่วไป มีการจัดกิจกรรมในปี ๒๕๕๖ – ๒๕๕๘ ดังนี้ • โครงการบัญชี วิถีสู่อนาคตที่มั่นคง มีวัตถุประสงค์ให้สตรีมีความรู้ และสามารถบันทึกรายรับ – รายจ่าย เพื่อประโยชน์ในการวางแผนค่าใช้จ่ายในครัวเรือนอย่างประหยัด อันจะนำไปสู่การออมเงินในยามฉุกเฉิน โดยจัดโครงการให้บุคคลในเขตต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล องค์กรสมาชิกของสภาสตรีแห่งชาติ ครู อาจารย์ กลุ่มแม่บ้าน และบุคคลที่สนใจโดยทั่วไป • โครงการออมไม่อด – จดไม่จน มีวัตถุประสงค์ให้เด็ก เยาวชน และบุคคลทั่วไปรู้จักสร้างวินัยในการออมให้ตนเองเพื่อรากฐานการเงินที่มั่งคงในอนาคต โดยมีการดำเนินการในปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๘ จำนวน ๖ ครั้ง ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล • นอกจากนี้ ยังมีโครงการต่างๆ ที่ดำเนินงานสำหรับคณะกรรมการ องค์กรสมาชิก และบุคคลทั่วไป เช่น โครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน โครงการส่งเสริมการอ่านอย่างมีคุณภาพโครงการ อาหาร สมุนไพร สร้างสุข โครงการสนทนาภาษาอาเซียน ๒. ฝ่ายและโครงการด้านเศรษฐกิจและสังคม มีการแบ่งการดำเนินกิจกรรมเป็นฝ่าย ดังนี้ ๒.๑ ฝ่ายเด็ก เยาวชน สตรี และครอบครัว มีการจัดกิจกรรมโครงการสภาสตรีแห่งชาติฯ ฝึกอบรมอาชีพเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล กิจกรรมโครงการ เด็กดี : ส่งเสริมการคิดดีคิดเป็น กิจกรรมโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศล กิจกรรมโครงการเยาวชนสตรีไทยดีเด่น กิจกรรมโครงการ เยาวชนคนดี : ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมก้าวทันโลกรู้ทันสังคม กิจกรรมคัดเลือกเด็ก เยาวชนดีเด่นแห่งชาติและนำเข้าเยี่ยมนายกรัฐมนตรีเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ และการจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติเป็นประจำทุกปี ๒.๒ ฝ่ายคหกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มุ่งเน้นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมให้เกิดอาชีพอิสระ สร้างทางเลือกใหม่ในการประกอบอาชีพ โดยมุ่งเน้นให้ความรู้ และทักษะเสริมอาชีพด้านต่างๆ แก่บุคคลทั่วไป โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมโครงการสภาสตรีแห่งชาติฯ ฝึกอบรมอาชีพเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และกิจกรรมเนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ เป็นต้น ๒.๓ ฝ่ายสาธารณสุข มีหน้าที่เสริมสร้างความรู้ให้แก่เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป ในการดูแลอนามัยส่วนตัว และอนามัยสิ่งแวดล้อมในบ้าน และสังคม การรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ตลอดจนการรักษาพยาบาล และงานด้านสาธารณสุขอื่นๆ มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมโครงการสตรีไทยห่วงใยสุขภาพ โดยจัดบรรยายให้ความรู้ด้านสุขภาพ นิทรรศการด้านการสาธารณสุข และองค์ความรู้จากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยเน้นการรณรงค์ “งามอย่างปลอดภัย สตรีไทยห่วงใยสุขภาพ” การพัฒนา OTOP ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการตรวจสุขภาพสตรี ๓. ฝ่ายกฎหมายและสถานภาพสตรี มีการจัดกิจกรรม และโครงการต่างๆ ดังนี้ • วันสตรีสากล มีการจัดการสัมมนาวิชาการ เรื่อง สตรีไทยก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อ มีนาคม ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถึง สิทธิ หน้าที่ บทบาทและศักยภาพของสตรีที่เกี่ยวข้องกับประชาคมอาเซียน ตลอดจนศึกษาข้อเท็จจริงของสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศเพื่อทราบปัญหาและผลกระทบด้านต่างๆ ตลอดจนศักยภาพการใช้ประโยชน์และความพร้อมของประเทศในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน และในเดือนมีนาคม ๒๕๕๗ มีการฝึกอบรมกฎหมายสำหรับวันทีน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย และบทบาทความสำคัญของเด็กและเยาวชน ต่อตนเอง ชุมชน สังคมและประเทศชาติ เป็นการกระตุ้นจิตสำนึก สร้างสรรค์การกระทำในสิ่งที่ดีงามมีความเสียสละต่อส่วนรวม และมีการเปิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างภาวะผู้นำแก่เด็กและเยาวชน นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมกิจกรรมวันสตรีสากลที่จัดโดยสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงขอมนุษย์ • วันยุติความรุนแรง เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีทั่วโลก วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงขอมนุษย์ จัดสัมมนาวิชาการเรื่อง “เดินหน้า แลหลัง ๖ ปี กับการบังคับใช้กฎหมายความรุนแรงในครอบครัว • การจัดอบรมกฎหมายให้แก่ผู้นำชุมชน กลุ่มสตรี และประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดตราด เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ • การจัดพิมพ์หนังสือเยแพร่ ทั้งหนังสือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสตรี และหนังสือหนังสือรู้เท่าทันประชาคมอาเซียน ๔. ฝ่ายต่างประเทศ มีการดำเนินการด้านความร่วมมือกับกับสภาความร่วมมือสภาสตรีระหว่างประเทศ (International Council of Women, ICW) การประสานความร่วมมือสภาพสตรีแห่งชาติฯ ในกรอบ ASEAN โดยมรการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารสมาพันธ์สตรีอาเซียน ครั้งที่ ๑๕ (ASEAN Confederation of Women’s Organization : ACWO) เข้าร่วมการประชุม ASEAN Foundation ในการประชุมหัวข้อ ASEAN Women’s Dialogue : Enhancing Women Role in the Working System of Governance ณ ประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น
ประวัติโดยย่อ:

เครือข่ายความร่วมมือพิเศษ

ไม่ได้เป็นเครือข่ายความร่วมมือพิเศษ

พื้นที่การทำงาน

ผู้ประสานงาน

ประเภทสิทธิ

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้หญิง