ข้อมูลทั่วไป

ประเภทองค์กร:
องค์กรพัฒนาเอกชน
ชื่อองค์กรภาษาไทย:
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ()
ชื่อองค์กรภาษาอังกฤษ:
()
โทรศัพท์ 1:
024336292
โทรศัพท์ 2:
โทรสาร:
อีเมล์:
เว็บไซต์:
วันก่อตั้งองค์กร:
วันที่เริ่มเป็นสมาชิก:
2015-12-28
ที่อยู่:
๑๔๓/๑๐๙-๑๑๑ ม.ปิ่นเกล้าพัฒนา ถ.อรุณอมรินทร์
อำเภอ:
บางกอกน้อย
จังหวัด:
กรุงเทพฯ
หมายเหตุ:
ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในทางร่างกาย สติปัญญา ค่านิยม ละจิตใจ ศึกษาและเผยแพร่ในเรื่องเด็กและความสัมพันธ์กับสังคม สงเคราะห์และเป็นสื่อกลางในการให้ความช่วยเหลือแก่เด็กที่อยู่ในภาวะทุกข์ยาก สนับสนุนและรณรงค์ผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ ให้สาธารณชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กและร่วมมือในการปรับปรุงคุณภาพของเด็กให้ดีขึ้น ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของเด็กและครอบครัวในด้านต่างๆ รวมถึงการเป็นผู้ใช้และผู้บริโภคสื่อ ดำเนินการอันเป็นสาธารณประโยชน์ และร่วมมือกับองค์การกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ และส่งเสริม การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความเป็นกลาง และไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง
ข้อตกลงความร่วมมือ (MOU):
ผลงานที่ผ่านมา:
ผลการดำเนินงานปี ๒๕๕๖ (มกราคม – ธันวาคม ๒๕๕๖) ๑. กลุ่มงานคุ้มครองเด็ก ๑.๑ การสร้างความเข้มแข็งในกลุ่มลูกจ้างทำงานบ้าน ได้มีการประชุมสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในปี ๒๕๕๕ และตั้งเป้าหมายในการขับเคลื่อนให้เกิดการบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๕ พร้อมกับผลักดันให้กระทรวงแรงงานรับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ ๑๘๙ ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับลูกจ้างทำงานบ้าน และสร้างแกนนำกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ๑.๒ การสงเคราะห์ และคุ้มครองสวัสดิภาพ และทุนการศึกษา มูลนิธิฯ ได้ให้ทุนการศึกษาให้เด็กที่มีฐานะยากจนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เรียนระดับประถมศึกษาจนจบมัธยมศึกษา หรือมหาวิทยาลัย ในปี ๒๕๕๖ มีนักเรียนที่ได้รับทุนอย่างต่อเนื่อง ๑๔ คน นอกจกนี้ยังมีการมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนยากจน หรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในนาม “กองทุนเข็มขาวเพื่อการศึกษาของเด็กไทย ๒. กลุ่มงานพัฒนาเด็ก มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ดำเนินงานใน ๒๙ พื้นที่ ๑๕ จังหวัด กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย กลุ่มแรงงานเด็กและลูกหานแรงงานต่างชาติ กลุ่มเด็กในชุมชนแออัดเมือง เด็กที่ถูกทอดทิ้งและยากจนในชนบท และกลุ่มเด็กใน ๓ จังหวัดภาคใต้ ดำเนินงานจำนวน ๕ แผนงาน คือ ๑) โครงการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กในสภาวะวิกฤติ ๒) โครงการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาวะชีวิตแรงงานเด็ก และเด็กกลุ่มเสี่ยง ๓) โครงการพื้นที่สุขภาวะเพื่อเด็กในสภาวะยากลำบาก ๔) แผนการจัดการองค์ความรู้เรื่องพื้นที่สร้างสรรค์ ๕) แผนงานขยายผลเครือข่าย โครงการ “ดีจัง” อีสานตุ้มโฮม และโครงการคลองเตยโมเดล ๓. กลุ่มงานสื่อสารสังคม กิจกรรมในช่วงครึ่งปี ๒๕๕๖ เน้นการสื่อสาร “การทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้างอาคารแด่น้อง” และการนำเสนอเรื่องการทำงานในเรื่องทุนการศึกษา พื้นที่เล่นปลอดภัยของเด็ก และมีหนังสือรายงานผลการดำเนินงานในปี ๒๕๕๕ “สื่อสารสร้างสรรค์ พลังเด็กและเยาวชน” (Do you Hear Me?) เป็นต้น ผลการดำเนินงานปี ๒๕๕๗ (มกราคม – ธันวาคม ๒๕๕๗) ๑. กลุ่มงานคุ้มครองเด็ก ภารกิจของกลุ่มงานคุ้มครองเด็กมีดังนี้ ผลักดันกลไก และนโยบายการพัฒนากฎหมายและกระบวนการคุ้มครองเด็ก การคุ้มครองสวัสดิภาพ การสงเคราะห์และ ให้ความคุ้มครองช่วยเหลือสิทธิตามกฎหมายการพัฒนากระบวนการช่วยเหลือเด็ก การป้องกัน การให้ความรู้ เสริมศักยภาพ สนับสนุนการศึกษา อาชีพ การรณรงค์สร้างการมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองเด็ก กิจกรรมในกลุ่มงานคุ้มครองเด็ก มีดังนี้ ๑) โครงการพัฒนากลไกการคุ้มครองและเสริมศักยภาพลูกจ้างทำงานบ้าน มีการดำเนินการในรอบเดือนมกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๗ มีการจัดกิจกรรมลูกจ้างทำงานบ้านสากล และมีข้อเรียกร้องให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานประกันสังคม และรัฐบาล ให้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาแรงงาน ๒) งานสงเคราะห์ และคุ้มครองสวัสดิภาพ และทุนการศึกษา ๓) การให้ความรู้ เสริมศักยภาพ การสนับสนุนการศึกษา อาชีพ การรณรงค์สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองเด็ก ๒. กลุ่มงานพัฒนาเด็ก เน้นการทำงานพื้นที่ต้นแบบ นวัตกรรม และการขยายพื้นที่สร้างสรรค์บูรณาการสร้างเครือข่าย /กลุ่มเยาวชน เพื่อผลักดันประเด็นงานยกระดับในการทำงานระดับจังหวัด ผ่านประเด็นพื้นที่สุขภาวะ และ ๓ ดีวิถีสุข พื้นที่เป้าหมายทั้งหมด ๔๗ พื้นที่ (๒๓ โรงเรียน) ใน ๑๕ จังหวัด กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย กลุ่มแรงงานเด็กและลูกหานแรงงานต่างชาติ กลุ่มเด็กในชุมชนแออัดเมือง เด็กที่ถูกทอดทิ้งและยากจนในชนบท และกลุ่มเด็กใน ๓ จังหวัดภาคใต้ ๓. กลุ่มงานสื่อสารสังคม ทำกิจกรรมในการสื่อสารการทำงานเรื่องจิตอาสา การแบ่งปัน หรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยผ่านช่องทางสื่อสารหน้าจอ ทำให้เกิดการติดตามการทำงานของมูลนิธิผ่านทาง รายการ “กิจกรรมรองเมือง...เรืองยิ้ม” และเกิดการติดตามผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการสื่อสารการทำงานโดยทำเป็นจดหมายข่าว หนังสือการรายงานผลการดำเนินงานประจำปี การประสานเครือข่ายสื่อ การทำกิจกรรมตลาดเดินได้ ทำให้คนในสังคมตระหนักถึงการทำงานของมูลนิธิ และมีการสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิเพิ่มมากขึ้น
ประวัติโดยย่อ:

เครือข่ายความร่วมมือพิเศษ

ไม่ได้เป็นเครือข่ายความร่วมมือพิเศษ

พื้นที่การทำงาน

ผู้ประสานงาน

ประเภทสิทธิ

กลุ่มเป้าหมาย

  1. เด็ก