ข้อมูลทั่วไป

ประเภทองค์กร:
องค์กรพัฒนาเอกชน
ชื่อองค์กรภาษาไทย:
สภาองค์กรชุมชนตำบลคูหาใต้ และเครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ()
ชื่อองค์กรภาษาอังกฤษ:
()
โทรศัพท์ 1:
081 738 2363
โทรศัพท์ 2:
โทรสาร:
อีเมล์:
เว็บไซต์:
วันก่อตั้งองค์กร:
วันที่เริ่มเป็นสมาชิก:
2014-12-10
ที่อยู่:

อำเภอ:
รัตภูมิ
จังหวัด:
สงขลา
หมายเหตุ:
ข้อตกลงความร่วมมือ (MOU):
ผลงานที่ผ่านมา:
ประวัติโดยย่อ:
สภาองค์กรชุมชนตำบลคูหาใต้จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๑ ตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ.๒๕๕๑ เดิมใช้ชื่อว่า “สภาร้อยแปด” โดยได้รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมในชุมชนตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ เพื่อหารือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ซึ่งกันและกัน แล้วนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชน เสนอปัญหาและขอความช่วยเหลือกัน และยังได้ร่วมกันพัฒนาโรงเรียนในชุมชนให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น สภาองค์กรชุมชนตำบลคูหาใต้ ได้ทำให้ชาวบ้านรับรู้เรื่องสิทธิชุมชน ในกรณีร่วมกันคัดค้านการทำเหมืองหินซึ่งได้สร้างผลกระทบต่อชุมชนมายาวนานกว่า ๒๐ ปี เนื่องจากสร้าง ความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย สภาพจิตใจ สังคม ส่งผลกระทบต่อการทำมาหากิน การเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยจัดให้มีเวทีปรึกษาหารือ รับฟังความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการเหมืองหินเขาคูหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ และมีการคัดค้านการต่ออายุประทานบัตรเหมืองหินให้กับบริษัทเอกชน ๒ ราย ส่งผลให้เกิดการชะลอการต่ออายุประทานบัตรให้กับบริษัทดังกล่าว โดยสถานการณ์ปัจจุบัน มีชาวบ้านถูกฟ้องเรื่องค่าเสียหายจากผู้ประกอบการ ๖๐ กว่าล้าน และชาวบ้านก็มีการฟ้องผู้ประกอบการ ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้ผู้ประกอบการชดใช้ค่าเสียหายแก่ชาวบ้าน และให้ชาวบ้านมีสิทธิที่จะอยู่กับทรัพยากรที่ดีได้ นอกจากนี้สภาองค์กรชุมชนฯ ยังจัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ชุมชนเชื่อมโยงทั้งในและนอกพื้นที่ โดยใช้วิทยุชุมชนเป็นช่องทางสื่อสารหลักในการให้ความรู้เรื่องสิทธิชุมชน กฎหมาย ปัญหาทรัพยากรและยกระดับการต่อสู้เป็นเครือข่ายคัดค้าน ใช้กลยุทธ์สร้างพันธมิตร แนวร่วม ยกระดับเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขร่วมกับระดับจังหวัด ในกรณีเดียวกันนี้เรื่องเกี่ยวกับการประกอบกิจการเหมืองหินที่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนตำบลคูหาใต้ ทำให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เศษหินจากการระเบิดหินปลิวไปถูกบ้านเรือนที่พักอาศัย ความสั่นสะเทือนทำให้บ้านเรือนแตกร้าว ผลกระทบต่อสุขภาพกายโดยได้รับฝุ่นจากการใช้เครื่องจักรเจาะ อัดระเบิด ผลกระทบด้านจิตใจ จากเสียงในการใช้เครื่องจักรทำงานหน้าเหมือง ผลกระทบต่อการทำมาหากินและการเกษตร วิถีชีวิตการทำมาหากินรอบๆ ภูเขา โดยการระเบิดหินทำให้ช่องน้ำจากภูเขาถูกปิดและเศษหินกระเด็นตกในนา กระทบต่อการไถนา ผลกระทบต่ออาชีพการเลี้ยงสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ วัว หมู การระเบิดทำให้สัตว์ตื่นกลัว และผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการระเบิดหิน ประชาชนหลายคนในอำเภอรัตภูมิจึงรวมตัวกันเป็น “เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา” ลุกขึ้นมาเรียกร้องพิทักษ์สิทธิทรัพยากรของประชาชนในพื้นที่ เพื่อเรียกร้องให้ภาครัฐยกเลิกคัดค้านการต่อประทานบัตรการทำเหมืองหินดังกล่าว เนื่องจากพื้นที่ และทรัพยากรเป็นของชาวคูหาใต้ทุกคน และเป็นของคนไทยทุกคน นอกจากแนวทางการต่อสู้เรียกร้องดังกล่าว ต่อมาเครือข่ายฯ ได้มีการจัดตั้ง “โรงเรียนสิทธิชุมชนเขาคูหา” ซึ่งเกิดขึ้นจากการต้องการความรู้ที่จะนำชุมชนไปสู่สังคมที่เป็นธรรม เคารพต่อคุณธรรม ความดี รักธรรมชาติ รักประวัติศาสตร์ รักความเป็นมา มีรากฐานของชุมชน ความเป็นชุมชนเล็กๆ ที่เคยอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเป็นสุข จึงเกิดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน การเรียนรู้ เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้จากการได้ปฏิบัติงานจากสถานการณ์จริงของชุมชน และการเรียนรู้จากภายนอก ขณะนี้โรงเรียนสิทธิชุมชนเขาคูหา จึงเปิดการเรียนรู้เรื่องสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา เป็นตัวอย่างหนึ่งของชุมชนที่เข้มแข็ง ควรได้รับการส่งเสริมยกย่องให้เป็นแบบอย่างในการรักษาสิทธิของชุมชน สิทธิภาคพลเมือง และเป็นแม่แบบชุมชนจัดการตัวเอง เพื่อให้ภาครัฐเห็นปัญหานำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำ และไม่เป็นธรรมของสังคมต่อไป

เครือข่ายความร่วมมือพิเศษ

ไม่ได้เป็นเครือข่ายความร่วมมือพิเศษ

พื้นที่การทำงาน

ผู้ประสานงาน

ประเภทสิทธิ

กลุ่มเป้าหมาย