ข้อมูลทั่วไป

ประเภทองค์กร:
สื่อมวลชน
ชื่อองค์กรภาษาไทย:
รายการเปิดปม สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ()
ชื่อองค์กรภาษาอังกฤษ:
()
โทรศัพท์ 1:
083 554 7666
โทรศัพท์ 2:
โทรสาร:
อีเมล์:
เว็บไซต์:
วันก่อตั้งองค์กร:
วันที่เริ่มเป็นสมาชิก:
2013-12-10
ที่อยู่:
บริษัท เอ็น ซี เอ็ด จำกัด 634/6 ซอยรามคำแหง 39 เทพลีลา แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กทม 10310
อำเภอ:
วังทองหลาง
จังหวัด:
กรุงเทพฯ
หมายเหตุ:
ข้อตกลงความร่วมมือ (MOU):
ผลงานที่ผ่านมา:
ประวัติโดยย่อ:
รายการเปิดปม ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา ๒๒.๓๐ – ๒๓.๓๐ น. ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เป็นรายการสารคดีเชิงข่าวสืบสวนสอบสวนซึ่งจะเปิดปมปัญหาที่เป็นสัญญาณอันตรายต่อสังคมไทย ปมเหล่านี้ซุกซ่อนอยู่ในสังคม บางเรื่องเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ส่งผลกระทบต่อคนในสังคมอย่างคาดไม่ถึงซึ่งทุกเรื่องที่จะนำเสนอ จะเป็นภาพสะท้อนให้คนในสังคมตระหนักและรู้เท่าทัน ที่สำคัญจะกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขและรับมือกับปัญหา รายการเปิดปม ออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ดำเนินรายการโดย นายวราวิทย์ ฉิมมณี จากนั้นได้มีการย้ายวันเวลาออกอากาศเรื่อยมา และที่ผ่านมามีการนำเสนอประเด็นต่าง ๆ ซึ่งคนในสังคมมองข้าม แต่กลับเป็นประเด็นใกล้ตัวและเป็นปัญหา ซึ่งเกิดผลกระทบต่อสังคม รวมถึงเกี่ยวข้องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในหลากหลายด้าน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ตอน ผูกขาดเมล็ดพันธุ์ เมื่อหายนะกำลังเกิดกับเมล็ดพันธุ์เกษตรพื้นเมือง โดยกลุ่มบริษัททุนการเกษตรกำลังจะต้อนเกษตรกรไทยจนมุม สู่วงจรธุรกิจผูกขาดเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเกษตรกรจะไม่มีสิทธิในเมล็ดพันธุ์ของตัวเอง กลายเป็นเกษตรพันธะสัญญา รูปแบบการผูกขาดธุรกิจเกษตร และผลักให้เกษตรกรกลายเป็นเพียงผู้ใช้แรงงานที่คอยเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ ปัญหาสำคัญซึ่งสังคมไทยมองข้าม ตอน บทเรียนจากถนน กรณีกรมทางหลวงตัดต้นไม้ ๑๒๘ ต้น ริมถนนธนะรัชต์ทางขึ้นเขาใหญ่เพื่อขยายถนนเป็นสี่เลนเมื่อปี ๒๕๕๓ กลายเป็นประเด็นขึ้นอีกครั้ง เมื่อศาลปกครองมีคำสั่งให้กรมทางหลวงปลูกต้นไม้ชนิดเดียวกันหรือใกล้เคียง ในจำนวนเดียวกันทดแทนต้นไม้ที่ถูกตัดไป หลังภาคประชาสังคมร้องต่อศาลว่า เป็นโครงการรัฐแต่ไม่ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นประชาชน กรณีนี้ถือเป็นบทเรียนสำหรับภาครัฐในการดำเนินโครงการต่างๆ ได้เป็นอย่างดีและดูเหมือนปัญหาเดียวกันนี้กำลังเกิดขึ้นกับโครงการมอเตอร์เวย์ช่วงต่อเชื่อมกับถนนธนะรัชต์ที่กำลังเป็นประเด็นขัดแย้งอยู่ในขณะนี้ ตอน ใครก่อมลพิษ....ใครจ่าย จากปัญหาน้ำมันรั่วในอ่าวไทย นอกจากคราบน้ำมันบนชายหาดแล้วยังมีเงื่อนแง่ซึ่งต้องตีแผ่และสะท้อนความเป็นจริงที่ถูกมองข้าม และอาจนำมาซึ่งการจ่อฟ้อง แผนรับมือ น้ำมันรั่วที่ล้มเหลว และยังไม่สามารถเยียวยาบรรดาผู้ได้รับผลกระทบได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอน แผนล้มหลักประกันสุขภาพ จับพิรุธสอบทุจริต องค์การเภสัชกรรม โค่นนโยบาย ๓๐ บาทรักษาทุกโรค ความเสียหายซึ่งกำลังจะก่อตัวเป็น “แผนล้มหลักประกันสุขภาพ” ตอน พิพาทเหมืองหิน จังหวัดหนองบัวลำภู ประเด็นพิพาทครั้งใหม่ระหว่างชาวบ้านตำบลดงมะไฟ อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู กับผู้ประกอบการและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการให้สัมปทานเหมืองหินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเก่ากลอย-นากลาง ซึ่งเกิดขึ้นในห้วงเวลาที่เกิดเหตุโรงโม่หินที่อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ถล่มทับคนงานเสียชีวิตจนอาจนำไปสู่การหยุดกิจการเพราะถูกชาวบ้านร้องเรียนเรื่องผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง กว่า ๒๐ ปี ที่ชาวดงมะไฟคัดค้านการเกิดขึ้นของเหมืองหินในพื้นที่ มีชาวบ้านระดับแกนนำถูกยิงเสียชีวิต ๔ คน แต่จนถึงขณะนี้คดียังไม่มีความคืบหน้า สิ่งที่กลายเป็นชนวนปลุกให้คนในพื้นที่ออกมาคัดค้านอีกครั้งเพราะพวกเขารู้ว่า ทางผู้ประกอบการกำลังเดินหน้าขอต่ออายุประทานบัตรรอบ ๒ ตอน จับตาแผนจัดการน้ำ ตรวจสอบ กู้เงินกว่า ๓ แสนล้านบาทรับมือน้ำท่วม ซึ่งอาจนำไปสู่ช่องโหว่ให้เกิดการทุจริตได้ ตอน พิษกากอุตสาหกรรม คดีลอบสังหารผู้ใหญ่บ้านตำบลหนองแหน จังหวัดฉะเชิงเทราทำให้ปัญหาการลักลอบทิ้งขยะอุตสาหกรรมในพื้นที่ถูกจับตา เนื่องจากผู้ตายเป็นแกนนำคัดค้านในประเด็นนี้อย่างต่อเนื่อง เปิดปมลงพื้นที่ติดตามปัญหาการลักลอบทิ้งขยะอุตสาหกรรมพบว่า หลายพื้นที่มีปัญหานี้ไม่ต่างจากหนองแหน ที่สำคัญจังหวัดฉะเชิงเทรากำลังต้องรองรับอุตสาหกรรมหลายประเภททั้งที่หลายแห่งอยู่ในพื้นที่ขาวทแยงเขียว หรือพื้นที่เกษตรกรรม ตามที่กำหนดไว้ในร่างผังเมือง ตอน โรฮิงญาสินค้ามนุษย์ เมื่อพวกเขาต้องเดินทางมาตายดาบหน้า ทำให้ ๔ เดือน โรฮิงญา ๖,๐๐๐ คน หนีตายเข้าไทย ส่งผลนายหน้าตั้งราคาขาย ๖๐,๐๐๐ บาท รูปแบบการค้ามนุษย์ซึ่งทำกำไรให้ผู้เกี่ยวข้องมหาศาล นอกจากนี้รายการเปิดปมยังนำเสนอประเด็นต่างๆ เช่น ค้าบัตรเลขศูนย์ (การทุจริตขึ้นทะเบียนผู้อพยพหนีภัยสงคราม) รุกรานชาติพันธุ์ชาวเล พิรุธงบน้ำท่วม รุกป่าพรุครวนเค็ง จับผิดตัว คนไร้รากเหง้า ฯลฯ ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์บ้านเมือง โดยทำหน้าที่ตรวจสอบ ตีแผ่ สนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรม เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะตามมาในสังคม และส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครอง สิทธิมนุษยชนของกลุ่มคนอย่างหลากหลาย

เครือข่ายความร่วมมือพิเศษ

ไม่ได้เป็นเครือข่ายความร่วมมือพิเศษ

พื้นที่การทำงาน

ผู้ประสานงาน

ประเภทสิทธิ

กลุ่มเป้าหมาย