ข้อมูลทั่วไป

ประเภทองค์กร:
ภาคธุรกิจเอกชน
ชื่อองค์กรภาษาไทย:
สมาคมรักษ์ทะเลไทย ()
ชื่อองค์กรภาษาอังกฤษ:
()
โทรศัพท์ 1:
089 466 6063
โทรศัพท์ 2:
โทรสาร:
อีเมล์:
เว็บไซต์:
วันก่อตั้งองค์กร:
วันที่เริ่มเป็นสมาชิก:
2013-12-10
ที่อยู่:
57/219-220 หมู่บ้านเคหสถานครูไทย ตำบลพะวง
อำเภอ:
เมืองสงขลา
จังหวัด:
สงขลา
หมายเหตุ:
ข้อตกลงความร่วมมือ (MOU):
ผลงานที่ผ่านมา:
ประวัติโดยย่อ:
สมาคมรักษ์ทะเลไทยเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ที่พัฒนาเติบโตมาจากโครงการพัฒนาชุมชนประมงขนาดเล็ก บ้านปากบางนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เมื่อปี ๒๕๒๔ ซึ่งถือเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน พัฒนาชนบทองค์กรแรกของภาคใต้ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างโครงการปฏิรูปการเกษตรและพัฒนาชนบท (WCARRD) ร่วมกับโครงการจัดตั้งภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และได้ยื่นจดทะเบียนเป็น “สมาคมรักษ์ทะเลไทย” เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือและประสานงานกับรัฐและองค์กรเอกชนอื่นๆ ในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตลอดจนเพื่อส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน มีพื้นที่เป้าหมายในการทำงานร่วมกับชุมชนประมงชายฝั่งในพื้นที่ ๑๓ จังหวัดภาคใต้ตลอดจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และรอบทะเลสาบสงขลา โดยมีผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้แก่ การจัดตั้งและสนับสนุนองค์กรชาวประมงพื้นบ้าน/องค์กรพัฒนาเอกชน โดยสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มภายในชุมชนที่เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน จัดตั้งกลุ่มระดมทุนและกลุ่มออมทรัพย์ สนับสนุนกิจกรรมกลุ่มอาชีพ ยกระดับการทำงานของกลุ่มสตรี สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มองค์กรชาวประมงให้เป็นนิติบุคคลในรูปแบบสมาคม เช่น สมาคมเครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช สมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยสนับสนุนให้มีเวทีสาธารณะเพื่อระดมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการศึกษาดูงานในพื้นที่กรณีศึกษา สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์วิทยุเฝ้าระวังและอบรมการใช้วิทยุ “มดดำ มดแดง” ส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน/เศรษฐกิจการประมง โดยสนับสนุนในกิจกรรมแพชุมชน เพื่อส่งเสริมการทำเศรษฐกิจของชุมชนประมงขนาดเล็กและเป็นกองทุน พร้อมทั้งเป็นต้นแบบการศึกษาเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชน โดยมีตัวอย่างแพชุมชนที่ประสบความสำเร็จจำนวน ๒ กลุ่ม คือ ๑) กลุ่มแพชุมชนบ้านคูขุด จังหวัดสงขลา ๒) กลุ่มแพชุมชนบ้านช่องฟืน จังหวัดพัทลุง ดำเนินงานประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เช่น จัดโครงการรณรงค์ร่วมกับกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ชื่อ “ฟื้นชีวิตทะเลไทยกับเรือเอสเพอรันชา” รวบรวมข้อมูล และทดลองใช้พลังงานทางเลือก เช่น การทดลองใช้เรือใบในการทำประมง และการผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหากฎหมาย คือ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. .......... และร่างพระราชบัญญัติประมง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. ........ นอกจากนี้ยังมีการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออื่นๆ เพื่อเผยแพร่รายงานกรณีศึกษาต่างๆ ในพื้นที่ รวมถึงนโยบายการจัดการทรัพยากรทางทะเลของภาครัฐ ได้แก่ เอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ จำนวน ๓๗ เล่ม หนังสั้น เรื่อง “หมอเปลี่ยนหัว” วีซีดี เรื่อง “สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน” การผลิตรายการวิทยุทางคลื่น FM. 106 . 75 MHz อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

เครือข่ายความร่วมมือพิเศษ

ไม่ได้เป็นเครือข่ายความร่วมมือพิเศษ

พื้นที่การทำงาน

ผู้ประสานงาน

ประเภทสิทธิ

กลุ่มเป้าหมาย