ข้อมูลทั่วไป

ประเภทองค์กร:
หน่วยงานรัฐ
ชื่อองค์กรภาษาไทย:
มูลนิธิสาธารณะสุขแห่งชาติ (มสช.)
ชื่อองค์กรภาษาอังกฤษ:
()
โทรศัพท์ 1:
0-2511-5855
โทรศัพท์ 2:
โทรสาร:
0-2939-2122
อีเมล์:
thainhf@thainhf.org
เว็บไซต์:
http://www.thainhf.org/index.php
วันก่อตั้งองค์กร:
1991-10-28
วันที่เริ่มเป็นสมาชิก:
2014-07-25
ที่อยู่:
1168 ซอยพหลโยธิน 22 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว
อำเภอ:
จตุจักร
จังหวัด:
กรุงเทพฯ
หมายเหตุ:
มูลนิธิสาธารณะสุขแห่งชาติ เป็นองค์กรที่ทำงานโดยไม่หวังผลกำไร มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างระบบสุขภาพบนฐานความรู้ โดยการทำงานวิจัยและบริหารการจัดการความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่อยู่บนพื้นฐานความรู้และข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพฝ่ายต่าง ๆในสังคมไทย
ข้อตกลงความร่วมมือ (MOU):
ผลงานที่ผ่านมา:
ประวัติโดยย่อ:
ในช่วงทศวรรษ ๒๕๒๐ ประเทศไทยต้องเผชิญทั้งปัญหาไฟสงคราม คือสงครามเวียตนามและกัมพูชา และปัญหาสาธารณสุขที่ต้นเหตุหลัก ของการเจ็บป่วยมิได้มาจากเชื้อโรคอีกต่อไป หากมาจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง และถือเป็นวิกฤตของสังคม ที่รัฐมิอาจแก้ไขได้เพียงลำพัง และมิใช่ด้วยการทุ่มงบประมาณลงไป หากต้องมาจากการใช้ความรู้และความร่วมมือ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๒๙ มีการจัดตั้งองค์กรอิสระ ขึ้นหลายองค์กร ทั้งเพื่อเคลื่อนไหวสังคมและมุ่งจัดการความรู้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางปัญญา แก่สังคม โดยในด้านพัฒนาชนบทนั้น รัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับองค์กรสนับสนุนความช่วยเหลือระหว่างประเทศของรัฐบาลแคนาดา (Canadian International Development Agency: CIDA) จัดตั้ง "กองทุนพัฒนาท้องถิ่นไทย-แคนาดา" (Local Development Assistance Program: LDAP) ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนองค์กร สถาบัน และกลุ่มต่างๆ ที่ดำเนินการด้านการพัฒนาท้องถิ่น ให้สามารถขยายขีดความสามารถที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชน ทั้งในระดับหมู่บ้าน ท้องถิ่นและประเทศโดยรวม ต่อมาได้ขยายบทบาทของกองทุนดังกล่าวให้เป็นสถาบันนิติบุคคล ภายใต้ซื่อว่า "มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา" พร้อมกับก่อตั้ง สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (สทพ.) เพื่อดำเนินงานต่อไป สำหรับองค์กรที่ทำการวิจัยเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายระยะยาว อันมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเผยแพร่ผลงานวิจัย ต่อภาครัฐบาลและเอกชน และถือว่าเป็นสถาบันวิจัยเชิงนโยบายแห่งแรกของประเทศไทยคือ มูลนิธิเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยความริเริ่มของสำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ มี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น และ มร.ปิแอร์ ทรูโด นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศแคนาดา เป็นประธานร่วมในพิธีลงนาม ในข้อตกลง ให้ความช่วยเหลือเพื่อมอบทุนดำเนินการจัดตั้งสถาบันในระยะเริ่มแรก ในช่วงเวลาเดียวกันงานด้านสาธารณสุข ก็ได้มีการคิด เรื่ององค์กรอิสระ และเป็นกลางพอที่เชิญผู้เกี่ยวข้อง มาร่วมสร้างและพัฒนานโยบาย เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ในการพัฒนา สาธารณสุข

เครือข่ายความร่วมมือพิเศษ

ไม่ได้เป็นเครือข่ายความร่วมมือพิเศษ

พื้นที่การทำงาน

ทั่วประเทศ

ผู้ประสานงาน

ประเภทสิทธิ

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ประชาชนทั่วไป