ข้อมูลทั่วไป

ประเภทองค์กร:
องค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรภาษาไทย:
องค์กรชุมชนอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านทุ่งทอง ()
ชื่อองค์กรภาษาอังกฤษ:
()
โทรศัพท์ 1:
07 263 0569
โทรศัพท์ 2:
โทรสาร:
อีเมล์:
เว็บไซต์:
http://pttinternet.pttplc.com/greenglobe/2548/community-01.html
วันก่อตั้งองค์กร:
1984-01-01
วันที่เริ่มเป็นสมาชิก:
0000-00-00
ที่อยู่:
หมู่ 7 ต.เขาไม้แก้ว
อำเภอ:
สิเกา
จังหวัด:
ตรัง
หมายเหตุ:
สนับสนุนองค์กรชาวบ้านในการจัดการป่าชายเลนชุมชน
ข้อตกลงความร่วมมือ (MOU):
ผลงานที่ผ่านมา:
1. ร่วมเรียกร้องกับสมัชชาคนจน 2. รวมตัวระดับชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียงดูแลป่าชายเลน 3. จัดประชุมอบรมชาวบ้าน
ประวัติโดยย่อ:
ชุมชนที่ปกป้องรักษาป่าชายเลนด้วยพลังของตนเอง จนสามารถเป็นต้นแบบห้องเรียนธรรมชาติ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ และเป็นป่าชายเลนสาธิตแห่งแรกของประเทศไทย เหนือสิ่งอื่นใด ชุมชนสามารถฟื้นฟูแหล่งอาหารธรรมชาติ เพื่อการยังชีพตามวิถีชีวิตเรียบง่ายและงดงาม ในอดีต ป่าชายเลนในประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ทั่วทั้งภาคใต้ จนเมื่อรัฐเปิดให้มีการสัมปทานป่าชายเลนเพื่อเผาถ่าน บ้านทุ่งทองก็เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีการสัมปทานยาวนานถึง 50 ปี ป่าที่เคยสมบูรณ์ก็ถูกทำลายจนเสื่อมโทรมในอัตราสูง ทั้งในเขตสัมปทานและนอกเขตสัมปทาน ในขณะที่ป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งอาหาร แหล่งเพาะพันธุ์ที่อยู่อาศัยและที่หลบภัยของสัตว์น้ำนานาชนิดถูกทำลาย ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดจำนวนลง การประมงชายฝั่งไม่ได้ผล บ้านทุ่งทองเป็นหมู่บ้านที่แยกมาจากหมู่ 3 บ้านแหลมไทร เป็นชุมชนชายทะเลฝั่งอันดามัน มีลักษณะเป็นแหลมยาวยื่นออกไปกลางทะเล รอบๆ ชุมชนก็เป็นป่าชายเลนทั้งของชุมชนเองและหมู่บ้านใกล้เคียง มีประชากร 148 ครัวเรือน 764 คน อาชีพหลักทำประมง อาชีพรองทำสวนยางและค้าขาย

เครือข่ายความร่วมมือพิเศษ

ไม่ได้เป็นเครือข่ายความร่วมมือพิเศษ

พื้นที่การทำงาน

  1. จังหวัดตรัง

ผู้ประสานงาน

  1. นายบ่าวนุ้ย หมาดทิ้ง (ตำแหน่ง : )
    ที่อยู่ : 22/1 หมู่ 7 ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง 92150
    หมายเลขโทรศัพท์ : 07 263 0569
  2. นายเหล็ก มัดระฮะ (ตำแหน่ง : )
    ที่อยู่ : 22/1 หมู่ 7 ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง 92150
    หมายเลขโทรศัพท์ : 07 263 0569

ประเภทสิทธิ

  1. สิทธิในการอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
  2. สิทธิในการให้ความเห็นต่อหน่วยงานที่มีผลกระทบต่อชุมชน
  3. สิทธิในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อโครงการพัฒนาของรัฐ/เอกชน
  4. สิทธิในการได้รับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินอันเป็นสาธารณประโยชน์

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ประชาชนทั่วไป